เมืองพริบพรี อาณาจักรโบราณที่ถูกพูดถึงในพรหมลิขิต

·

·

เมืองพริบพรี

เมืองพริบพรี หรือ เพชรบุรี อาณาจักรแคว้นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อยุธยาโดยตรง มีกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักร ภายหลังเกิดโรคระบาดจึงได้มีการย้ายการตั้งถิ่น ความสำคัญของทฤษฎีหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญถึงที่มาของกษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็คือ พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งมีที่มาจากการกล่าวอ้างในหนังสือลาร์ลูแบร์ เพชรบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปี นับตั้งแต่สมัยทวารวดี อาณาจักรเพชรบุรี เดิมเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เคยเป็นส่วนหนึ่ง ในการปกครองของขอม หรือเขมรโบราณในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นว่า เมืองเพชรบุรีนั้น คือ “อยุธยาที่มีชีวิต” เมืองเพชรบุรีเป็นเมืองโบราณ คำว่า “เพชรบุรี” เองก็มีปรากฏเป็นหลักฐานว่าเรียกมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นกัน สันนิษฐานที่มาของชื่อมีอยู่ 2 ทางด้วยกัน 7 ร้านกาแฟในโตเกียว ทางแรกเป็นการเรียกตามชื่อแม่น้ำเพชรบุรี ส่วนอีกทางหนึ่งเป็นการเรียกตามตำนานที่เล่าสืบกันมาว่าในสมัยโบราณเคยมีแสงระยิบระยับในเวลากลางคืนที่เขาแด่น อาณาจักรเพชรบุรี ทำให้คนเข้าใจว่ามีเพชรพลอยบนเขานั้น พริบพี หรือ เพชรบุรี มีชื่อที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกต่าง ๆ กัน เช่น ชาวฮอลันดาเรียกว่า “พิพรีย์” ชาวฝรั่งเศสเรียกว่า “พิพพีล์” และ “ฟิฟรี” จึงสันนิษฐานกันว่าชื่อ “เมืองพริบพรี” เป็นชื่อเดิมของเมืองเพชรบุรี ซึ่งสอดคล้องกับชื่อวัดพริบพลี ที่เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัด 

จากบันทึกของลาลูแบร์ ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยบุรี พ.ศ. 1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. 1731

กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจาก พญาสุนทรเทพมหาเทพราช ทรงพระนามว่า พระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์ จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1894 

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี แล้วโปรดให้ขุนหลวงพะงั่ว ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระมเหสีเป็น สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ไปครองเมืองสุพรรณบุรี ส่วนพระราเมศวร รัชทายาทให้ไปครองเมืองลพบุรี

ในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา WBET888 เพชรบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก เจ้าเมืองผู้ปกครองเพชรบุรีล้วนเป็นผู้ที่สืบเชื้อพระวงศ์ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ จังหวัดเพชรบุรีได้เปลี่ยนเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีตั้งแต่ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดให้สร้างพระราชวัง วัด และพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นบนเขาเตี้ย ๆ ใกล้กับตัวเมือง และพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า “เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา” ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีคือ พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อาณาจักรเพชรบุรีจึงขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญของอาณาจักรจึงเป็นเพียงเมืองหนึ่งของอยุธยา

เมืองพริบพรี เพชรบุรีในสมัยอยุธยาตอนต้น 

เพชรบุรีขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในแบบศักดินาสวามิภักดิ์ มีขุนนางควบคุมเป็นชั้น ๆ ขึ้นไป แต่หลังจากการเปลี่ยนแปลง การปกครอง ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ อำนาจใน ส่วนกลางมีมากขึ้น เพชรบุรียังมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกับกรุงศรีอยุธยา ดังนั้นอำนาจจากส่วนกลาง จึงมามีส่วนในการปกครอง เพชรบุรีมากกว่าเดิม ในสมัยพระมหาธรรมราชา ทางเขมรได้ให้พระยาจีนจันตุยกทัพมาตีเมืองเพชรบุรี เมืองโบราณ ทวาร วดี แต่ชาวเพชรบุรีป้องกันเมืองไว้ได้ ต่อมาพระยาละแวกได้ยกทัพมาเองมีกำลังประมาณ 7,000 คน เมืองเพชรบุรีจึงตกเป็นของเขมร จนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราชทรงตีเขมรชนะ เพชรบุรีจึงเป็นอิสระ และเนื่องจากทรงโปรดปรานเมืองเพชรบุรีเป็นพิเศษ จึงได้เสด็จมาประทับ ที่เมืองเพชรบุรีเป็นเวลาถึง 5 ปี ก่อนจะทรงยกทัพใหญ่ไปปราบพม่า และสวรรคตที่เมืองหาง 
เจ้าเมืองเพชรบุรี และชาวเมืองเพชรบุรีได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญ ในการต่อสู้กับข้าศึกหลายครั้ง นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวร มหาราช สมเด็จพระเชษฐาธิราชและสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ โดยเฉพาะในสมัยพระเทพราชานั้น เมืองโบราณ ทวาร วดี การปราบปรามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่ง แข็งเมือง พระยาเพชรบุรีได้เป็นกำลังสำคัญในการส่งเสบียงให้แก่กองทัพฝ่ายราชสำนักอยุธยา อย่างไรก็ดีเมืองเพชรบุรีถูกตีแตกอีกครั้ง เมื่อพม่าโดยมังมหานรธราได้ยกมาตีไทย จนไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 นั่นเอง 



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *