สุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์ หลัง นศ.แพทย์ดิ่งตึก รพ.สุรินทร์ เสียชีวิต

สุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์

สุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์ เป็นอีกเรื่องน่าเศร้าใจ สำหรับกรณีของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ตัดสินใจกระโดดตึกภายในโรงพยาบาลสุรินทร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา จนกลายเป็นการตั้งคำถามของคนในสังคมถึงประเด็นเรื่อง “สุขภาพจิต” ของนักศึกษาแพทย์ เพราะช่วงหลังๆ มานี้ มีข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนักศึกษาแพทย์ออกมาให้เห็นหลายข่าวติดๆ กัน จนนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต้องออกมาหาทางเพื่อป้องกันเหตุซ้ำ

 มีข่าวคนตัดสินใจกระโดดตึดภายในโรงพยาบาลสุรินทร์ อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ โดยที่เกิดเหตุเป็นตึกความสูง 9 ชั้น และผู้เสียชีวิตคือ “นักศึกษาแพทย์” ชั้นปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีสุดท้าย และอยู่ระหว่างขอรับใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เส้นทางการเรียนแพทย์ ซึ่งตามคำบอกเล่าของผู้อำนวยการโรงพยาบาล ระบุว่า นักศึกษาแพทย์คนดังกล่าวได้ทิ้งจดหมายไว้ มีเนื้อหาว่าพยายามเต็มที่สุดความสามารถแล้ว ขอโทษพ่อแม่ที่ทำไม่สำเร็จ ทำให้คาดการณ์ว่าสาเหตุที่ทำให้นักศึกษาแพทย์คนนี้ตัดสินใจจบชีวิต น่าจะมาจากความเครียด หลังเกิดเหตุการณ์เศร้า โรงพยาบาลสุรินทร์ก็ออกแถลงการณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่าขอแสดงความเสียใจกับการเสียชีวิตของนักศึกษาแพทย์ พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่ายให้ความเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้เสียชีวิต ไม่เผยแพร่ข้อมูลหรือภาพที่ไม่เหมาะสมในสื่อสาธารณะ

ย้อนดูข่าว นศ.แพทย์ จบชีวิต ด้วยความเครียด สุขภาพจิตในนักศึกษาแพทย์

ข่าวนักศึกษาแพทย์ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองด้วยการกระโดดตึก ปรากฏให้เห็นตามหน้าข่าวเป็นระยะๆ โดยในปี 2566 นี้ เช่น ข่าวนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 กระโดดจากตึกสูง 28 ชั้น เสียชีวิต คาดมีสาเหตุจากอาการเครียด แพทย์ปี 6 extern ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา  เป็นต้น 

ด้านสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้กล่าวถึงปัญหาด้านสุขภาพจิตในกลุ่มนิสิตนักศึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชศาสตร์ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและมีมานาน โดยปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของนิสิตนักศึกษา มีดังต่อไปนี้ 

  1. ความเครียดในการเรียนการสอนที่เกิดจากอาจารย์ เช่น การใช้วาจาที่รุนแรง การสอน การอธิบายที่คลุมเครือ
  2. ระบบการศึกษาและหลักสูตรที่ไม่เอื้อต่อนิสิตนักศึกษา มีการบีบอัดเนื้อหาวิชาเรียน มีความซ้ำซ้อน
  3. สภาพแวดล้อม 7 ร้านกาแฟในโตเกียว เพื่อน และสังคมภายในคณะ มีความขัดแย้งหรือความกดดันที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ
  4. ภาระงานและข้อกำหนดชั่วโมงการทำงานที่มากเกินไป ทำให้นิสิตนักศึกษาไม่มีเวลาพักผ่อนที่เพียงพอ เกิดความเครียดสะสม เหนื่อยล้า
  5. ระบบกิจการนิสิตมีปัญหา เช่น ความน่าเชื่อถือ การจัดการปัญหาที่นิสิตนักศึกษาร้องเรียน

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการเรียนและการบริบาล สภาวะความเครียดสะสมและสุขภาพจิต ภาวะการหมดไฟในการทำงาน ภาวะความพึงพอใจในตัวเองต่ำ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และโรคตื่นตระหนก นำไปสู่อัตราการพักการเรียน ไปจนถึงการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ทางด้าน ผศ.นพ.ภุชงค์ เหล่ารุจิสวัสดิ์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า บรรยากาศในคณะแพทย์ เด็กแทบไม่มีเรื่องอื่น คุณค่าทั้งหมด ขึ้นอยู่กับเรื่องเรียน ซึ่งชีวิตดูปิดกั้นมาก กลายเป็นว่าค่าของพวกเขา ถูกกำหนดด้วยผลการเรียน โดยไม่รู้ตัว ซึ่งลักษณะชีวิตแบบนี้ เป็นมาตั้งแต่สมัยประถม-มัธยมแล้ว แต่เมื่อเป็นระดับอุดมศึกษา การเรียนจะยากขึ้นเรื่อย ๆ สัมฤทธิ์ผลที่น้อยลง แทนที่จะมองว่ายาก ก็อาจจะถูกตีความว่าเก่งน้อยลง แย่ลง

ขณะที่คนทั่วไป เข้าใจว่า เรียนเก่งเท่ากับดี ทำให้ชื่นชมแต่ผลการเรียน ไม่ทราบว่า เส้นทางการเรียนแพทย์ เบื้องหลังในความเก่งเหล่านั้น ต้องแลกมา ด้วยระดับความเครียด อย่างไรบ้า

ผลกระทบต่อ วงจรความเครียด การควบคุมอารมณ์ การคิดตัดสินใจให้คุณค่า และสร้างความเชื่อ ที่ว่าล้มเหลวไม่ได้ ที่อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ให้นักศึกษาแพทย์บางรายถึงขั้นเลือกที่ จะจบชีวิตตนเอง

“ที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้ว่า มีนิสิตนักศึกษาแพทย์ที่เครียด จนถึงขั้นตัดสินใจ ฆ่าตัวตาย และมีอีกจำนวนมาก ที่เคยคิดแบบนั้นขึ้นมา จากการพบว่าชีวิตในปัจจุบัน ไม่ได้สัมฤทธิ์ผล เหมือนที่ต้องการ และคาดหวัง รวมถึงเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า ซึ่งไม่ใช่ทางกายภาพ แต่เป็นทางจิตใจ คือเขารู้นะครับ ว่าพยายามมากขึ้น ผลการเรียนก็อาจจะดีขึ้น แต่เขาเหนื่อยมากแล้ว

“ระบบการศึกษาที่เคร่งเครียด จะประเมินวัดผล สอบโน่นนี่ตลอดเวลา ถ้าไม่เข้าใจบางคาบ หรือขาดเรียนไปช่วงหนึ่ง อาจจะส่งผลกระทบ ต่อเนื่องเป็นคอมโบ เลยเหมือนกับถอยไม่ได้ พลาดไม่ได้ เครียดมาก ถ้าสุดท้ายเรียนไม่จบ คงอับอายแถมเสียดายเงิน และเวลา มันทำให้ผู้เรียนรู้สึก เหมือนอยู่ใน Survival mode (เอาชีวิตรอด) แรงจูงใจในชีวิตไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความกลัว คือกลัวตัวเองจะไม่รอด แถมปนการแข่งขันด้วย เพราะตัดเกรดแบบอิงกลุ่มด้วย ซึ่งเมื่อคนเรารู้สึกว่า ตัวเราเองยังไม่รอด ยังไม่มีความสุขเลย โอกาสจะมีใจไปอยากช่วยเหลือใคร ก็คงไม่ค่อยไหว ถ้าเราอยากให้นิสิตนักศึกษา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น มีความรัก และห่วงคนไข้ อาจารย์แพทย์ก็ต้องทำก่อน เห็นอก เห็นใจ พวกเขา และห่วงใยพวกเขาก่อน” ผศ.นพ.ภุชงค์ ระบุ

ผศ.ดร.ภุชงค์ กล่าวว่า สถาบันการศึกษามุ่งผลิตแพทย์เพิ่มขึ้นมาก มหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทย์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการของยุคสมัยสูงขึ้น ผู้ปกครองเองก็มักส่งเสริมลูกให้เรียนแพทย์ การศึกษาจึงคล้ายๆ ระบบอุตสาหกรรมการผลิตที่เน้นปริมาณ แพทย์ปี 6 extern  ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็มีแพทย์ลาออกจากภาคราชการไปเยอะเช่นกัน และที่ผ่านมามีเยาวชนอยากเป็นแพทย์เยอะอยู่แล้ว ก็ผลิตมาเติมจำนวนผู้ปฏิบัติงานกันไป ส่วนคนที่อยู่และมีปัญหากับระบบก็ลาออกไปนอกระบบ ซึ่งแท้จริงแล้วน่าจะดูต้นเหตุว่าจะทำอย่างไรให้แพทย์อยากอยู่ในระบบด้วย เพราะไม่ใช่แค่นิสิตนักศึกษาแพทย์เท่านั้นที่เครียด แพทย์ใช้ทุนหรือแพทย์เฉพาะทางต่างๆ ก็เครียดไม่น้อยเช่นกัน



Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *